สีพระวรกาย ขององค์พระคเณศ


สีพระวรกาย ขององค์พระคเณศ




หริทาส:
อันนี้ผมมาขอเสริมเรื่องสีพระวรกายนิดนึงแอ่ะครับ 


คือในศาสนาฮินดู เนี่ย สีหรือ รงฺค ใช้ในหลากหลายลักษณะครับ ซึ่งมักเป็นสัญลักษณ์สแดงถึงสภาวะตามธรรมชาติบางอย่าง ดังเราจะเห็นว่าทำไมเทวดาอินเดียต้องมีกายสีๆ 

ถ้าว่าตามหลักปรัชญาสางขยะแล้ว สรรพสิ่งในโลก เกิดจากปุรุษะ คือธรรมชาติฝ่ายที่มีเจตน์จำนง และปรกฤติ คือธรรมชาติฝ่ายที่มีกัมมันตภาพ หรือเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยน แต่ปราศจากการรู้คิด 
สิ่งที่เกิดจากปรกฤติ มีคุณสมบัติ สามประการ (ตฺริคุณะ) 
ได้แก่ 1.สัตวคุณ ได้แก่คุณสมบัติด้านความสว่าง ขาว ความจริง ความเย็น ความดี ความสงบ ความสะอาด หยุดนิ่ง ฯลฯ ถ้าหมายถึงสีคือ สีขาว 
2.รชัสคุณ ได้แก่ การเคลื่อนไหว ความร้อน ความโกรธ อารมณ์ที่วูบไหว การเกิด  พลังงาน แรงขับดัน ฯลฯ สีแดง 
3.ตมัสคุณ ได้แก่ ความมืด ความตาย การทำลาย ความดับสูญ ความหลง ความมัวเมา ฯลฯ สีดำ 

ทั้งสามคุณะนี้แสดงออกมาในสิ่งต่างๆในโลก โดยมีอัตราส่วนของคุณะนี้ต่างกันออกไป 
ไม่เว้นแม้แต่เทพเจ้า เพราะเทพเจ้าเอง ก็ทรงเป็น สิ่งที่ปรากฏออกมาจาก สคุณพรหมัน หรืออีศวร ที่สำแดงออกในคุณลักษณะต่างๆ 
ถ้าว่าตามหลักสางขยะ 
พระวิษณุมี สัตวคุณมาก เพราะทำหน้าที่ธำรงโลก 
พระพรหมมี รชัสคุณมาก เพราะสรรค์สร้างโลก 
พระศิวะมี ตมัสคุณมาก เพราะเกี่ยวกับการประลัย 



อันนี้ว่าตามหลักทั่วๆไปนะครับยังไม่ได้เจาะจงถึงพระคเณศ 

ที่นี้สีพระวรกายของพระคเณศ อันนี้ว่าตามคัมภีร์มุทคลปุราณะ นะครับ ท่านว่า พระคเณศนั้น มีการอวตารมาในโลก สองแบบ 
แบบแรก เรียกว่า อัษฏาวตาร คือการอวตารมาแปดปางเพื่อปราบอสูรต่างๆ แบบที่สองเรียกว่า ยุคาวตาร หรือการอวตารมาในยุคต่างๆของโลก 4 ยุค 

ในมุทคละปุราณบอกว่า 
ในสียุคของโลกพระคเณศอวตารมาดังนี้ 
1.กฤตยุคหรือสัตยุค ยุคนี้ความดีของโลกบริบูรณ์ พระคเณศอวตารมา พระนามว่า มโหกฏวินายก สิบกร มีพระวรกายดั่งดวงอาทิตย์ ทรงสิงหาสนะ 
2.เตรตยุคหรือไตรดายุต ยุคนี้ความดีเหลือสามในสี่ส่วน พระคเณศอวตารมาพระนามว่า มยุเรศวร มีหกกร พระวรกายขาวดั่งดวงจันทร์ ทรงมยุราสนะ 
3.ทวาปรยุค ยุคนี้ความดีเหลือครึ่งเดียว พระคเณศอวตารมาพระนามว่า คชานน  มีสี่กร พระวรกายแดง ทรงมุษก หรือหนูเป็นพาหนะ 
4.กลียุค ยุคของเรานี่เอง ความดีเหลือเพียง 1 ในสี่ส่วนพระคเณศ จะอวตารมาพระนามว่า ธูมรวรรณ มีสองกร พระวรกายสีหม่นดั่งเมฆหมอก ทรงม้าสีดำ จะมาปราบความชั่วร้ายทั้งหลาย 

ถ้าสังเกตดูในคติตามมุทคลดีจะเห็นว่า คงได้รับอิทธิพลของไวษณวนิกาย เกี่ยวกับรูปลักษณ์ของพระเจ้าที่เปลี่ยนไปตามความดีในโลก พระนารายณ์ในปุราณะของฝ่ายนั้นก็บอกว่า พระวรกายจะเปลี่ยนจากสีขาวหม่นลงเรื่อยๆ ปัจจุบัน พระนารายณ์สีเกือบดำแล้วครับ 

พระคเณศเองก็เปลี่ยนสีพระวรกายหม่นลง และมีพระกรลดลงด้วยครับ 

อันนี้ว่าไปตามปุราณะนะครับ 

แต่ในกรณีที่จะทำเป็นสีของเทวรูป ผมเห้นด้วยกับท่านที่บอกว่า ให้เน้นที่เทวลักษณะเป็นสำคัญครับ เด่วนี้ชักจะมีเทวรูป พระคเณศแปลกๆ แบบ เจ็ดสีเจ็ดวันอะไรมากมาย ไม่เคยเห้นมาก่อน ม่วงครามน้ำเงืนชมพู ฯลฯ 

จากประสบการณ์ผม ที่อินเดีย พระคเณศมักจะใช้สีส้ม ที่เป้นสีเดียวกับผงสินทูรนะครับ 
การใช้สีส้มทาที่เทวรูปโดยเฉพาะในแคว้นมหาราษฏร์นั้น เป้นธรรมเนียมที่เกิดจากความเชื่อว่า ผงสินทูรเป็นสิ่งที่พระคเณศทรงโปรดประการหนึ่ง สีส้มเป้นสีประจำของศาสนาฮินดูประการหนึ่ง และ การใช้สีส้มแต้มทาสิ่งใดสิ่งนั้นแสดงว่าเป้นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่นหากเอาผงสีส้มไปแต้มตามก้อนหิน ก้อนหินนั้นจะได้รับการเคารพบูทันที 

เทวรูปพระคเณศในอินเดีย โดยเฉพาะองค์ที่เป็นสวายัมภูที่มีชื่อเสียงมักจะทาด้วยสีส้ม หรือเป็นสีดำ เงิน ทอง ฯลฯ ตามวัสดุเดิม(หิน,เงิน ทอง ฯลฯ)ครับ 


ส่วนวชิราวุธ เป็นพระราชนิยมในล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระคเณศ ต้นแบบในสมัยรัชกาลที่ หก โดยมากผู้ออกแบบ คือกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และจะเห็นได้ว่า ได้รับอิทธิพลจากเทวรูปพระคเณศของชวา ในส่วนท่านั่ง กระโหลกประดับ เพราะพระคเณศองค์สำคัญที่ เราเอามาจากชวา คือองค์ที่จัณฑิสิงหสาหรี่ ถวายรัชกาลที่ 5 ได้กลายมาเป้นต้นแบบพระคเณศยุคหลัง จนเมอื่กรมศิลปากรจัดสร้างและท่านอาจารย์ศิลป์ออกแบบ ก็ ใช้แบบเมเรื่อยมาครับครับ

ขอขอบคุณบทความดีๆ
โดย คุณ หริทาส
ลิงค์ข้อมูล

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม