สวานันทะโลก และอัสตะสิทธิวินายักกา





  • ซ้าย
  • กลาง
  • ขวา
ลบออก
คลิกเพื่อเพิ่มคำบรรยายภาพ


สวานันทะโลก โลกของพระพิฆเนศผู้เป็นเจ้า
เหล่าสาวกแห่งพรหมเทพมีจุดมุ่งหมายสู่พรหมโลก...
เหล่าไวษณพมีจุดมุ่งหมายสู่วิษณุโลกหรือเกษียรสมุทร...
เหล่าไศวนิกายมีจุดมุ่งหมายสู่ศิวะโลกหรือเขาไกรลาส...
แล้วเหล่าคณปัตยามีจุดมุ่งหมายสู่แห่งหนใด...
เหล่าเทพขั้นสูงจะมีโลก หรือสวรรค์ที่เป็นเขตส่วนพระองค์ ที่เป็นสถานที่พำนักของพระองค์ พระพิฆเนศก็เป็น 1 ในเทพที่มีโลกของพระองค์ ซึ่ง คณปตีโลก นั้นมีชื่อจริงว่า “สวานันทะโลก” ซึ่งปรากฏรายละเอียดต่างๆของคณปตีโลกในคเณศปุราณะอยู่ 51 ตอน ซึ่งเป็นการจารึกโดย ฤาษีมุทคะละ ซึ่งจากการบรรยายของมหามุนี ได้เปรียบให้เห็นว่า สวานันทะโลก นั้น ยิ่งใหญ่ งดงาม และรุ่งโรจน์กว่าเทวโลกของเทพองค์อื่นๆ
ความหมายของ สวานันทะโลก
จริงๆแล้วคณปตีโลกนั้น มีชื่อเรียกกันอยู่ 3 ชื่อ ประกอบไปด้วย “สวานันทะ ภาวนา” “สวานันทะ ภูวนา” และ “สวานันทะ นิจโลก” ซึ่งทั้ง 3 ชื่อนั้นมีเป็นคำพ้องความหมาย ที่แปลว่า โลกแห่งความสุข หรือ ดินแดนที่ความสุขสิงสถิต
การสร้าง สวานันทะโลก
พระพิฆเนศด้วยพลังของพระองค์เอง เนื่องด้วยพระพิฆเนศเป็นเทพที่ได้ถือกำเนิดจากพลังศักติของพระแม่ปาราวตี ทำให้พระพิฆเนศมีความสามารถในการใช้พลังศักติเช่นเดียวกัน และในการสร้าง “สวานันทะโลก” ซึ่งพลังในการสร้างคณปตีโลกมีชื่อว่า “กามะทายินี โยคะ ศักติ” ซึ่งผลจากพลังดังกล่าวทำให้เกิดเกาะศักดิ์สิทธิ์ที่มีขนาด 5,000 โยชน์
เส้นทางสู่ สวานันทะโลก
เส้นทางการบำเพ็ญเพียรสู่ สวานันทะโลก มีชื่อว่า “ทิพยโลก” เป็นเส้นทางที่ถูกระบุไว้ว่า เป็นเส้นทางหฤโหดที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและยากลำบากในการบรรลุสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งเส้นทางทิพยโลกถือได้ว่าเป็นบททดสอบสุดท้ายที่พระพิฆเนศใช้สำหรับคัดเลือกผู้ที่จะได้เข้ามาสู่สวานันทะโลก แม้เป็นเหล่าฤาษีผู้ทรงศีลและเคร่งครัดอาจไม่ผ่านการคัดเลือกก็เป็นได้ หรือเหล่าสาวกผู้ชำนาญในเหล่าวิทยาต่างๆไม่ว่าจะเป็น การโยคะ (Yoga) การบริจาคทาน (Dhana) การบำเพ็ญพรต (Vrata) การบำเพ็ญเพียรอื่นๆ หรือผู้ใช้องค์ความรู้ของไวทันตะ ก็อาจไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางเข้าสู่ สวานันทะโลก จากพระพิฆเนศ
หนทางเดียวที่เหล่าสาวกจะสามารถเข้าสู่ สวานันทะโลก ได้ จำเป็นต้องเป็นผู้หมั่นบำเพ็ญเพียรบูชาพระพิฆเนศเป็นกิจวัตรจนพระองค์ท่านพึงพอใจ ผู้นั้นจักได้เป็นส่วนหนึ่งกับพระพิฆเนศและสวานันทะโลก
ทวารบาล : พราหมณ์รัมบิกา
อาณาจักรของพระพิฆเนศถูกรายล้อมไปด้วยความว่างเปล่าที่มีความยาว 1,000 โยชน์ ทำให้สามารถเห็นสิ่งต่างๆที่พยายามจะเข้ามาสู่สวานันทะโลกโดยง่าย เมื่อผ่านดินแดนแห่งความว่างเปล่าจะพบประตูที่ปกป้องสวานันทะโลกอยู่ 4 ทิศ ในแต่ละทิศจะมี 2 พราหมณ์รัมพิกาทำหน้าที่ทวารบาล ที่เกิดจากพลังโยคะของพระพิฆเนศ โดยเหล่าพราหมณ์รัมพิกาทั้ง 8 มีลักษณะร่างกายด้วยแสงสีทองสุขไสวเจิดจรัส และประกายแสงสีทองที่ออกมามีทอประกายดั่งแสงอาทิตย์นับ 1,000 ดวง มี 4 พระกร โดยพระกรที่ 1-2 ถืออาวุธ พระกรที่ 3 ถือกระบอง และพระกรที่ 4 อยู่ในท่าทรงมุทราแบบ ดรรชนีมุทรา อันมีความหมายว่าขจัดมาร แต่กริยาการแสดงออกจะดุร้าย (อุคคะระรูป – Ugra Roopa) มีผมหยาบกระด้าง
พระนามของทวารบาลทั้ง 4 ทิศ
· อุดรทวาร (เหนือ) 2 ทวารบาลจะมีพระนามว่า สุสุมยะ และ สุพัฒยกะ
· ทักษิณทวาร (ใต้) 2 ทวารบาลจะมีพระนามว่า พลรามและ สวักตระ
· บูรพาทวาร (ตะวันออก) 2 ทวารบาลจะมีพระนามว่า วิฆนราช และ อวิฆนราช
· ประจิมทวาร (ตะวันตก) 2 ทวารบาลจะมีพระนามว่า คชากรรณะ และ โคกรรณะ
· เพิ่มเติม ภายในสวานันทะโลกจะมีพลังศักติที่แปรเปลี่ยนเป็น 2 ผู้ปกครองจะมีพระนามว่า เตโชวตี และ ชวาลินี
หมายเหตุ ตามที่ศึกษาค้นคว้า ผู้แปลได้พบอีกแหล่งข้อมูลซึ่งผู้ประพันธ์น่าจะเป็นผู้ภักดีของนิกายคณปัตยา ได้ระบุถึงทวารบาลประจำทิศทั้ง 4 นั้นมีทวารบาลเพียง 4 องค์เท่านั้น และทวารบาลทั้ง 4 มาในรูปของพระไภรวะ โดยมีพระนามดังนี้
· ศรีนักนาไภรวะ (วาตุกะไภรวะ)
· ศรีกัปปะภารตีไภรวะ
· ศรีนิลกัณฑ์ไภรวะ
· ศรีกฤตติวาสไภรวะ
พระไภรวะทั้ง 4 จะมีศรีนักนาไภรวะเป็นหัวหน้า ซึ่งพระองค์ได้รับหน้าที่ดูแลเหล่าผู้ภักดีของนิกาย คณปัตยาในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสามโลก ศรีนักนาไภรวะ ได้รับฉายาจากพระพิฆเนศว่า “พลีโภชะเทวดา” หรือ ผู้ที่สละของที่ได้รับจากทานต่อพระพิฆเนศ และศรีนักนาไภรวะ ยังได้ชื่อว่า หนึ่งในอัครสาวกของพระพิฆเนศ อันเป็นเทวดาผู้บริสุทธิ์ที่สุดของพระพิฆเนศ โดยประกาศภายหลังจากศรีนักนาไภรวะได้ถวาย การรับใช้พระศิวะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ศรีนักนาเป็นที่รู้จักในอีกพระนาม ว่า กาฬไภรวะ เพราะพระองค์เป็นอนันต์ ไร้พ่าย และสามารถควบคุมกาลเวลาได้ รูปลักษณ์ของพระองค์มาในอวตารเด็กที่ถือพรหมจรรย์ จึงถูกขนานนามว่า “วาตุกะไภรวะ” พระองค์จะอยู่ในสภาพเปลือยเปล่า
ในวันแรม 8 ค่ำ เดือนมฤคศิรมาส (ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม) เป็นวันที่แสดงการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระศรีนักนาไภรวะ โดยเวลาเที่ยงคืนพระองค์ท่านจะได้รับการบูชาในฐานะเจ้าแห่งกาลเวลา และในฐานะอัครสาวกของพระพิฆเนศ
ความมั่งคั่งของสวานันทะโลก
สวานันทะโลกถูกบรรยายว่าเป็นดินแดนที่ความยากจนไม่สามารถเข้ามากล้ำกลายได้ พื้นที่ต่างๆถูกฉาบทาไปด้วยด้วยทองคำที่ประดับไปด้วยอัญมณี และหินสีหายาก
บัลลังก์ของพระพิฆเนศ
เขตเทวสถานของพระพิฆเนศตั้งอยู่ทางทิศเหนือของสวานันทะโลก จะปรากฏดอกบัวสีขาวขนาดมหึมา อยู่กลางมหาสมุทรน้ำอ้อย ดอกบัวมีกลีบนับพันล้วนเป็นสีชมพูที่งดงามกว่าดอกบัวไหนๆ เทวบัลลังก์ตั้งอยู่ใจกลางดอกบัว ทำขึ้นจากทองคำประดับไปด้วยอัญมณี และหินสีหายาก โดยพระพิฆเนศจะประทับอยูบนบัลลังก์เป็นประจำ
รูปปรากฏของพระพิฆเนศในสวานันทะโลก
พระพิฆเนศปรากฏกายในอวตาร “สวานันทะ พละ คณปตี” มีลักษณะเป็นเด็กชายมีพระชนม์มายุ 9 พรรษา พระวรกายสีแดงชาด (Raktavarna หรือ รกฺตวรฺนะ) บริเวณพระนลาฏปรากฏติลักสีส้ม (คำไทยใช้คำว่า ดิลก) ในอวตารสวานันทะ พละ คณปตี รูปปรากฏ ได้แก่
· ตรีเนตร เหมือนพระศิวะ โดยพระเนตรทั้ง 3 แสดงถึง พระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระอัคนี
· พระโภทร (ท้อง/พุง) แสดงถึงโลก และพระเกศาเปรียบดั่งดวงดาวและนพเคราะห์
· หยดพระเสโท (เหงื่อ) แสดงถึงมหาสมุทรและมหานที
· พระวิภูษณะ (เครื่องประดับ) ถูกทำขึ้นจากทองคำประดับด้วยอัญมณีชั้นเลิศ
· พระมาลาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ มีชื่อว่า ทิพยมาลา
· พระอาภรณ์ของพระองค์ แสดงให้เห็นถึงความร่ำรวย (สุวัสตระธารา)
· พระสุคนธ์ (น้ำหอม) ที่ใช้ชโลมพระวรกาย เป็นน้ำหอมศักดิ์สิทธิ์ (ทิพยสุคนธะ)
· ทรงพระมงกุฎพันธ์
· และประดับพระจันทร์เสี้ยวเหนือพระเศียร เหมือนพระศิวะ
นางสนมของพระพิฆเนศ
พระพิฆเนศในอวตาร สวานันทะ พละ คณปตี จะปรากฏเหล่านางอัฏฐสิทธิ หรือ นางสิทธิทั้งแปด (องค์ความรู้แห่งพลังเหนือธรรมชาติแปดประการ) คอยปรนนิบัติรับใช้ ในทางตันตระได้บรรยายว่า เหล่านางอัฏฐสิทธิจะมาในรูปของมนุษย์หญิง ทำหน้าที่ขับขานบทเพลงสรรเสริญพระพิฆเนศ อันแสดงให้เห็นถึงการอุปมาอุปไมยถึง พระพิฆเนศผู้เป็นมหาคุรุเทพที่เพรียบพร้อมไปด้วยพลังปัญญาทั้งมวล
นิวาสสถานอื่นของสวานันทะโลก
ภายในสวานันทะโลก ได้ถูกจัดพื้นที่ไว้สำหรับเหล่าเทวดา ดวงจิตของเหล่ามนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ที่ได้รับเทวอนุญาตให้เข้ามาพำนักในสวานันทะโลก จะปรากฏกายในรูปของต้นอุทุมพร (ชาวไทยเรียกต้นมะเดื่ออุทุมพรหรือ ต้นมะเดื่อชุมพร) ที่รายล้อมไปด้วยฝูงยุงจำนวนมหาศาล จนกลายเป็นป่ามะเดื่อ ซึ่งเชื่อว่าเป็นป่าที่จะเดิมเต็มทุกความปรารถนา
เทวพาหนะ
หนูมุสิกะจะประทับอยู่ใกล้พระพิฆเนศตลอดเวลา

-----------------------------------------------------------------------




  • ซ้าย
  • กลาง
  • ขวา
ลบออก
อัตถะสิทธิวินายักกา

โดยทางพิพิธภัณฑ์อัญเชิญเทวรูปอัตถะสิทธิวินายักกา พระพิฆเนศ ประทับพร้อมชายาทั้ง 8 ประดิษฐานเป็นองค์ประธาน ณ สวานันทะโลกนี้
อัตถะสิทธิ (นางสิทธิทั้ง 8 หรือ นางสนมทั้ง 8) ของพระพิฆเนศ ประกอบไปด้วย
พระแม่สิทธิ และพระแม่พุทธิ ประทับอยู่บนบัลลังก์ซึ่งกำลังนวดขาให้พระพิฆเนศ พระแม่อนิมา และพระแม่กริมา เป็นผู้ทรงถือพัดวี ให้องค์พระพิฆเนศ พระแม่ชวาลินี และพระแม่เตชิณี ทรงถือถาดเครื่องบูชาต่อองค์พระพิฆเนศ พระแม่มหิมา และพระแม่ประถิมา ทรงยืนอยู่ในสายพระเนตรของพระพิฆเนศพระแม่มหิมาทรงถือคนโท พระแม่ประถิมาทรงถือร่ม

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม